เจ้าหน้าที่บุคลากรทางการแพทย์ด่านหน้า หน่วยฉุกเฉิน รพ.ปัตตานี ยังคงทำงานกันอย่างสุดความสามารถ เพื่อหยุดยั้ ง สถานการณ์ CV – 19 หลัง จังหวัด ปัตตานี เป็นอีกหนึ่งจังหวัด ที่จัดอยู่ในพื้นที่ สีแดงเข้ม โดบพบผู้ ติดเชื้อ สะสมแล้วกว่า 3,923 ราย
ล่าสุด ผู้ใช้เฟซบุ๊ก Napatchanon Vejvisitvong เจ้าหน้าที่บุคลากรทางการแพทย์ ได้ออกมาโพสต์เฟซบุ๊กว่า
“เวรบ่าย 8/7/64 เป็นอีก1เวรเ ยิ นๆที่เหนื่อยที่สุดในชีวิตการทำงานก็ว่าได้ เปลี่ยนPAPR PPEกันคนละ3รอบ ไม่มีใครได้พักกินข้าว 7EMS, 3ETtube PUI, ตบท้ายด้วยBBAตามระเบียบและไหนจะcaseอื่นๆทั้งwalk inและRefer in
พยาบาล1คนต่อการเข้าresusคนไข้ใส่ETtube เพราะไม่มีใครสามารถจะปลีกตัวเองเข้ามาช่วยเพราะต้องเตรียมใส่ETtube อีกcaseที่กำลังนอนหายใจเหนื่อย SpO2 dropและแน่นอนว่าcaseเหล่านี้เป็นPUI พร้อมกันในเวลานั้นพยาบาลอีก2คนต้องออกEMSรับคนไข้PUI หายใจเหนื่อย ในห้องERเหลือหัวหน้าเวรแค่1คนที่ต้องเครีย ดกับการจัดการ การถูก กดดันจากcaseอื่นๆในER
ต้องบันทึกข้อมูลคนไ ข้ และที่น่าป ว ดหัวที่สุดในตอนนี้คือการจัดการหาเตียงให้คน ไข้ได้admit เพราะมันไม่เหมือนเมื่อก่อนที่resus คนไข้เสร็จแล้วสามารถ transfer เข้าward ได้เลย ตอนนี้ต้องนอนรอเตียงที่ER จนกว่าจะได้เตียงและแน่นอนว่าคน ไ ข้ caseเหล่านั้นต้องรออยู่ที่ERเป็นเวลานานมาก
ยกตัวอย่างบางcaseมาERตอน5ทุ่ม ได้เข้าตึกไปเกือบตี5 #เหนื่อยมากเหนื่อยมากๆ เหมือนกำลังออกรบ ทุกอย่างฉุกเฉิน เร่งรีบภายใต้ความจำกัดทั้งสถานที่ อุปกรณ์ อัตรา กำลังของคนทำงานโดยเฉพาะพยาบาล เป็นครั้งแรกที่บอกกับเวรตรวจการและหัวหน้าERว่าไม่ไหว ทำไม่ทัน แต่ก็ไม่สามารถหาอัตรา กำลังเสริมมาช่วยได้ เนื่องจากหลายๆwardถูกปิด เจ้าหน้าบางส่วนถูกกักตัวและหลายๆคนก็เหนื่อยล้าจากการทำงานไม่ต่างจากเรา
ผมถามตัวเองและเพื่อนร่วมชะตากรรมในเวรว่า ถ้าเป็นแบบนี้ทุกวันทุกเวร เราจะไหวกันมั้ยเพราะสถานการณ์มันยิ่ง แ ย่ ลงเรื่อยๆ และแน่นอนว่าคำตอบที่ได้ คือ ไม่ไหว ภายใต้PPEมันทั้งเหนื่อย ทั้งล้า ทั้งเครีย ดแต่ก็ขอบคุณTeamworkที่ช่วยกันจนผ่านในเวรไปได้เหลือทิ้งไว้อีก2 case ETTube PUI ที่นอนรอเตียงอยู่หน้าRampให้เพื่อนเวรดึกและไม่รู้ว่าจะtransferคนไข้เข้าwardได้เมื่อไหร่ เฮ่อออ… ถอนหายใจวันละ83ล้านรอบ สู้ๆนะทุกคน”
ทั้งนี้ หลังโพสต์ดังกล่าวถูกเผยแพร่ออกไป บรรดาชาวโซเชียลต่างเข้ามาคอมเม้นต์กันเป็นจำนวนมาก เพื่อให้กำลังใจเจ้าหน้าที่บุคลากรทางการแพทย์ ที่กำลังทำงานอยู่ในพื้นที่ด่านหน้า